หน้าแรก Sritown.com

ผู้เขียน หัวข้อ: ความสัมพันธ์ “รักๆ ใคร่ๆ” ในช่วงโควิด เปลี่ยนไปจากเดิมไหม มีรูปแบบไหนเบ้าง?  (อ่าน 1124 ครั้ง)

promotion

  • โจรสลัดจอมลุย / โคโนฮะกลุ่ม 7
  • *
  • กระทู้: 2499




ด้วยข้อจำกัดด้านการเดินทาง รวมไปถึงมาตรการในการเข้าใช้พื้นที่ต่างๆ ก่อนหน้านี้ ดูเหมือนจะขัดกับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เราในด้านสังคมกันอยู่ไม่น้อย ที่เป็นแบบนี้พี่ โปร บอกเลยนะว่าเพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่คุ้นชินกับการออกไปพบปะผู้คน ตามหามิตรภาพใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตัวเองมาโดยตลอด พอถึงเวลาที่เราจะต้องจำกัดพื้นที่ของตัวเองให้แคบลง เจอหน้ากันผ่านโปรแกรมสนทนาออนไลน์อย่างเดียว จากที่ควรจะรู้สึกอบอุ่น อาจจะกลายเป็นความโหยหาเข้ามาแทน

และเมื่อนานวันเข้า ความรู้สึกต่างๆ ก่อนหน้านี้ก็อาจจะแปรเปลี่ยนหรือเชื้อเชิญให้สิ่งที่เรียกว่า ความเหงา  เข้ามาแทนที่ พอสิ่งนี้เข้ามา หลายคนเลยพยายามหาอะไรมาทดแทน หรือเติมเต็มให้สิ่งที่เรียกว่าความเหงาลดลงไปได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นการออกไปซื้อของนอกบ้าน หรือพบปะผู้คนในระยะเวลาอันสั้น รวมไปถึงกิจกรรมความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ ที่พอจะช่วยให้คลายเหงาได้ แม้จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาไม่นานนักก็ตาม










สำหรับกิจกรรมคลายความเหงาของคนส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นการดูหนัง หรือดูซีรีส์ ซึ่งเราเองก็เลือกใช้วิธีนี้ในการจัดการกับความเหงาของตัวเองด้วยเช่นกัน โดยซีรีส์ที่เรามีโอกาสได้ดูและประทับใจในช่วงที่ผ่านมา ก็คือ ซีรีส์เกาหลีเรื่อง Hometown Cha-Cha-Cha

โดยซีรีส์เรื่องนี้ได้นำเสนอเรื่องราวความสัมพันธ์ของคน 2 คน ที่ต่างกันแบบสุดขั้ว คนนึงเป็นคุณหมอจากกรุงโซล มีหัวสมัยใหม่ มีแนวทางเป็นของตัวเองสุดๆ กับอีกคนที่เป็นหนุ่มต่างจังหวัดซื่อๆ มีความเป็นผู้นำ ใจกว้าง และเป็นที่รักของคนในหมู่บ้าน ซึ่งความสัมพันธ์ของทั้งสองคนนี้ เรียกได้ว่าเป็น 2 ความต่างที่พวกเราอาจจะจินตนาการภาพไม่ออกเลยว่า พวกเค้าจะหลงรักกันได้ยังไง

จากพัฒนาการความสัมพันธ์ของทั้งสองตัวละคร ที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นมาในแต่ละตอน ทำให้เรานึกย้อนกลับมามองรูปแบบการใช้ชีวิตในปัจจุบัน กับบรรยากาศของความสัมพันธ์ท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสระบาดที่เรียกว่าน่าจะเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ ที่หลายคนแทบไม่เคยพบ เคยเห็นที่ไหน พี่ โปรโมชั่น ว่าบรรยากาศแปลกใหม่ในช่วงโควิดที่ผ่านมานี้ แทนที่จะเป็นอุปสรรคของการสานความสัมพันธ์ แต่กลับกลายเป็นว่า ได้เกิดเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ "ใหม่ๆ"  ที่น่าสนใจ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีลักษณะของความสัมพันธ์เป็นยังไง เรามาสำรวจ และทำความรู้จักไปพร้อมๆ กันได้เลย










"อยู่แต่กับบ้านเป็นส่วนใหญ่ จะออกไปไหนก็ต้องทำเวลา"
คือ คำนิยามการใช้ชีวิตที่ผ่านมาของพวกเรา




กี่ปีได้แล้วนะ ที่พี่ promotion และพวกเราทุกคนใช้เวลาอยู่แต่กับบ้าน มากกว่าการออกไปทำกิจกรรมข้างนอก ซึ่งต้องบอกว่า รูปแบบการใช้ชีวิตของคนทั้งโลกได้เปลี่ยนไป ไม่ใช่แค่เฉพาะในบ้านเราอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต รวมไปถึงการเดินทาง ที่จากเดิมจะต้องมีการออกจากบ้านไปทำงาน ไปเจอลูกค้า รวมถึงไปสังสรรค์เฮฮากับเพื่อนๆ ในช่วงวันหยุด กลายเป็นว่าทุกอย่างที่กล่าวมา ดันมากระจุกตัวอยู่ในสถานที่ที่พวกเราเรียกว่า 'บ้าน' เกือบจะเข้าปีที่ 2 ได้แล้ว

ซึ่งวิถีชีวิตแบบนี้ พอนานวันเข้าบรรยากาศของความเหงา รวมถึงความเครียดก็จะเข้ามาเยือนพวกเราได้ง่าย โดยเฉพาะในคนที่มีสภาพจิตใจที่ไม่แข็งแรงพอ หรือเป็นคนกลุ่มที่อยู่บ้านนานๆ ไม่ได้ จะต้องหาเรื่องออกไปนอกบ้านตลอด คนกลุ่มนี้จะได้รับอิทธิพลก่อนใครเพื่อน และด้วยข้อจำกัดต่างๆ เหล่านี้ อาจบีบบังคับให้เราจำยอมในแบบที่ปฏิเสธไม่ได้



ดังนั้น เมื่อมีข้อจำกัดดังกล่าวขึ้นมา มนุษย์เราเลยต้องหาทางหนีทีไล่

ถึงแม้ว่าจะแก้ปัญหาไม่ได้ 100% แต่ถ้ามันช่วยทำให้เกิดความรู้สึกที่สบายใจขึ้น หรือคลายความเหงาไปได้บ้าง

หลายคนเลยพยายามหาทางออก ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม

โดยทางออกแรกที่พี่ promotions ว่าจะทุกคนมองหา นั่นก็คือ Social Media




จากสถิติการใช้งาน Social Media ตั้งแต่ช่วงปี 2019 จนถึงปี 2021 นั้นมีสัดส่วนของผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเยอะมาก ถ้าวัดตามทวีปปรากฏว่าทวีปเอเชียของเรามีอัตราการใช้งาน Social Media สูงที่สุด ก่อนจะตามมาด้วยทวีปแอฟริกา ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดสถิติต่างๆ เหล่านี้ แทบจะไม่ต้องเดากันเลยว่ามาจากอะไร เพราะส่วนหนึ่งก็มาจากการแพร่ระบาดของโควิดนี่แหละ ที่ทำให้คนในสังคมถูกจำกัดให้ใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้าน และเมื่อออกไปไหนไม่ได้ หลายคนเลยหาทางออกด้วยการเข้า Social Media เช็กความเคลื่อนไหวไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร รวมไปถึงการอัปเดตชีวิตกับเพื่อนๆ ซึ่งนี่ก็ได้รวมไปถึงการสานความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ ผ่านช่องทางอย่าง Social Media ด้วยเช่นกัน





เห็นผลภายใน 2 สัปดาห์
ลดผมร่วงได้อย่างชัดเจน

 





อ่านบทความฉบับเต็ม คลิ๊กเลย >>>> https://www.punpro.com/p/covid-dating-trend-2021









"เพราะต้องปรับตัว เลยทำให้ความสัมพันธ์กลายเป็นเทรนด์ขึ้นมา"


เราจะเห็นได้ว่า การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมากๆ ในช่วงโควิดที่ผ่านมา ซึ่งก็ได้รวมไปถึงรูปแบบของความสัมพันธ์ที่อาศัยสื่อกลางอย่าง Social Media เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ด้วยเช่นกัน ซึ่งสื่อกลางที่ว่านี้ไม่ได้หมายถึงการเชื่อมความสัมพันธ์ให้กับคนที่ไม่มีคู่อย่างเดียวนะ แต่ยังหมายถึงคนที่มีคู่อยู่แล้วด้วย และจากข้อมูลที่เราได้ทำการค้นคว้ามา ทำให้เราได้พบกับรูปแบบของความสัมพันธ์ที่น่าสนใจ ที่เกิดขึ้นในช่วงโควิดที่ผ่านมาอยู่ 2 แบบ โดยแต่ละแบบจะมีรายละเอียดยังไง มาดูกัน !




ความสัมพันธ์แบบ FODA | อยู่คนเดียวมานาน จนทำให้กลัวการออกเดทอีกครั้งไปเลย

FODA หรือที่ย่อมาจาก Fear of Dating Again ที่มีความหมายถึงคนที่กลัวการเข้าสังคม กลัวการออกไปเจอผู้คนใหม่ๆ  ซึ่งเราไม่แปลกใจนะ ถ้าความรู้สึกแบบนี้จะเกิดขึ้นกับใครหลายคน สืบเนื่องมาจากการใช้ชีวิตอยู่คนเดียวมานาน จนอาจจะทำให้ทักษะการเข้าสังคมที่เคยมีอยู่ในตัวเรานั้นหายไป รวมถึงความไม่มั่นใจในรูปร่างหน้าตา ก็มีส่วนทำให้เกิดความกลัวนี้ขึ้นมาด้วยเช่นเดียวกัน

ซึ่งทางแก้ง่ายๆ ของรูปแบบความสัมพันธ์นี้ คือ การค่อยเป็นค่อยไป บางคนอาจจะเริ่มด้วยการพูดคุยกันผ่านวิดีโอคอลก่อน เพื่อที่จะได้ไม่รู้สึกเกร็ง หรือประหม่าเวลาที่ต้องเจอหน้ากันจริงๆ หรืออาจจะเริ่มต้นจากการพบกันในสถานที่โล่งกว้าง อย่างสวนสาธารณะ หอศิลป์ เพื่อที่จะช่วยลดความอึดอัดที่อยู่ในตัวไปได้ หรือใครจะงัดบทสนทนาเกี่ยวกับการจัดการชีวิตของตัวเองในช่วงโควิดที่ผ่านมา ในการช่วยทำให้บรรยากาศของวงสนทนาดีขึ้นก็ได้เช่นกัน




ความสัมพันธ์แบบ Corona-Cuffing | เล่นๆ หลบไป ความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่เท่านั้นที่ต้องการ
สำหรับความสัมพันธ์รูปแบบนี้เกิดขึ้นมาจากการเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการสังสรรค์ รวมไปถึงช่วงเวลาที่หลายคนโหยหาความอบอุ่น เลยทำให้คนส่วนใหญ่เริ่มที่จะมองหา ความสัมพันธ์แบบจริงๆ จังๆ  ขึ้นมา ก่อนที่การระบาดระลอกต่อไปจะเคลื่อนตัวมาทำให้โอกาสในการมีความรักของเราหายไปอีกครั้ง

ดังนั้นรูปแบบของความสัมพันธ์นี้ แต่ละฝ่ายจะให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์ของตัวเองเป็นอย่างมาก ถ้าใช่ก็คบต่อ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะตัดความสัมพันธ์ทิ้งทันที จะไม่มีการพยายามต่อไป เพราะพวกเค้ามองว่ายิ่งพยายาม ยิ่งเป็นการเสียโอกาสในการเจอคนที่ใช่มากขึ้น ส่งผลทำให้พฤติกรรมการเดทที่ปรากฏตามแอปพลิเคชั่นหาคู่ต่างๆ มีความเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น มีการใช้เวลาในการแชทคุยกันมากขึ้น รวมไปถึงมีการกล้าพูด กล้าแสดงความเห็นแบบตรงไป ตรงมา มากขึ้น










โดยบรรดารูปแบบความสัมพันธ์ใหม่ๆ ที่ว่านี้ อาจจะไม่ได้หมายถึงการพูดคุยกันผ่าน Dating Apps เพียงอย่างเดียว เพราะเราสามารถอาศัยช่องทางของ Social Media ประเภทอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น Facebook รวมถึง Instagram ในการตามหาคนที่น่าสนใจ ที่มีความชอบเหมือนกันกับเราได้เหมือนกัน




กลุ่มใน Facebook / Hashtag ใน Instagram คือแหล่งของการตามหาคนที่มีความชอบเหมือนกัน !
ซึ่งจุดประสงค์ในที่นี้เราไม่ได้หมายถึงการตามหาคู่เดทอย่างเดียวนะ แต่เราขอใช้คำว่า 'มิตรภาพใหม่ๆ' แทนก็แล้วกัน ซึ่งประโยชน์ของกลุ่ม รวมไปถึง Hashtag ที่เราสนใจนั้นจะทำให้เรามีโอกาสได้เจอกับคนที่มีความชอบ หรือความสนใจที่คล้ายกันกับเราได้ง่ายขึ้น โดยบรรดากลุ่ม รวมถึง Hashtag ในทุกวันนี้นั้นมีเยอะมาก ซึ่งนั่นก็รวมไปถึงโอกาสในการเข้าถึงเพื่อนใหม่ของเราก็มีเยอะมากขึ้นด้วยเช่นกัน

แต่ต้องบอกก่อนว่าการหาคนที่น่าสนใจผ่านช่องทางนี้ อาจไม่ได้ก่อให้เกิดการสานต่อความสัมพันธ์ในทันที เพราะจุดประสงค์ของมันไม่ได้มีไว้สำหรับการหาคู่เดทตั้งแต่แรก ดังนั้นเราอาจจะต้องอาศัยระยะเวลาในการทำความรู้จักหรือแลกเปลี่ยนความสนใจกันก่อน ถึงจะมีโอกาสพัฒนาต่อเป็นความสัมพันธ์รูปแบบอื่นๆ ได้ และไม่ใช่ทุกคนที่จะสมหวังกับการหาคู่เดทผ่านช่องทางนี้ ก็ขอให้เข้าใจในจุดนี้กันไว้ก่อนด้วยนะ

การสานความสัมพันธ์ผ่าน Social Media นี้ อาจจะตอบโจทย์เรื่องสังคมให้กับเราได้ก็จริง  แต่มันจะดีกว่าไหมถ้าเรามีโอกาสได้ทำความรู้จักกันแบบ เป็นตัวเป็นตน  ซึ่งใครจะไปรู้ว่ามีอยู่ 1 ประเทศที่ได้ออกมาตรการให้คนไปมาหาสู่ และทำความรู้จักกันแบบ 1:1 ในช่วงที่มีการล็อกดาวน์อยู่ขึ้นมา










Single Bubble เป็นมาตรการที่มีอยู่จริงในเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย โดยเป็นมาตรการที่ถูกปล่อยออกมาของรัฐบาลที่ ต้องการจะช่วยเหลือผู้ที่พักอาศัยอยู่ตามลำพังในช่วงล็อกดาวน์ ด้วยการอนุญาตให้สามารถพบปะกับผู้อื่นได้ 1 คน โดยที่เราสามารถเลือกได้ว่าคนๆ นั้นจะเป็นใคร ซึ่งเป็นได้หมดเลยนะไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว, คนคุย หรือแฟน แต่มีเงื่อนไขนิดนึงตรงที่ว่าจะต้องเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในรัศมีเดียวกันกับเรา ไม่เกิน 10 กิโลเมตร และเมื่อเลือกแล้วเราจะไม่สามารถเปลี่ยนเป็นคนอื่นได้

โดยจุดประสงค์ของมาตรการนี้ หลักๆ เลยก็คือ การช่วยเหลือด้านสภาพจิตใจ และทดแทนโอกาสในการพบปะผู้คนในรูปแบบเดิมๆ ที่เมื่อมีการล็อกดาวน์เกิดขึ้น โอกาสที่เราจะได้พบปะคนอื่นก็น้อยลงตามไปด้วย ดังนั้นจึงเกิดเป็นมาตรการ Single Bubble ขึ้นมา และมีการเริ่มต้นใช้มาตรการนี้อย่างเป็นทางการกันมาแล้ว









เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบความสัมพันธ์ในช่วงก่อนและหลังโควิดมา จะเห็นได้ว่ารูปแบบความสัมพันธ์มีความแตกต่างกันพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ของคนที่มีคู่ หรือในคนที่ไม่มีใคร ที่เห็นได้ชัดเจนเลย ก็คือ รูปแบบของความสัมพันธ์ ที่ก่อนหน้านี้มักจะเป็นอะไรที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน แต่พอโควิดมาอะไรๆ ก็ดูเหมือนว่า จะมีความจริงจัง และมีเงื่อนไขมากขึ้น

ส่วนนึงเรามองว่ามันเป็นการปรับตัว  ซึ่งการปรับตัวที่ว่านี้ไม่ได้หมายถึงคนโสดเพียงอย่างเดียว แต่ในคนที่มีคู่ก็ต้องปรับตัวด้วยเช่นกัน เพราะอะไรทำไมบางคู่ถึงสานต่อความสัมพันธ์กันมาได้ แม้ว่าตัวจะอยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน เราว่าส่วนหนึ่งก็มาจากการปรับตัว และการพยายามหาทางออกด้วยวิธีการต่างๆ นั่นแหละ ที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ การใช้ตัวช่วยอย่าง Social Media ไม่ว่าจะเป็นการแชทพูดคุยกัน การวิดีโอคอลให้ได้เห็นหน้ากัน เมื่อมันถูกทำอย่างสม่ำเสมอ เราว่ามันก็สามารถช่วยดึงให้ความสัมพันธ์เขยิบเข้าใกล้กันมากขึ้นได้นะ

และต่อให้ทุกอย่างจะยากกว่านี้ หรือมีข้อจำกัดขนาดไหน เราก็ยังมีความเชื่อว่า พวกเราจะหาทางออกกันจนได้  เพราะมนุษย์เราอยู่โดยขาดสังคมไม่ได้ รวมไปถึงความรักด้วยเช่นกัน ดังนั้นถ้าเพื่อนๆ คนไหนมีอะไรอยากจะแชร์ หรืออยากจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ส่วนตัวของตัวเองก็สามารถคอมเมนต์กันเข้ามาได้ เผื่อใครที่มีปัญหาแบบเดียวกับเรา แล้วเข้ามาอ่านพอดี ก็จะได้รับคำแนะนำดีๆ จากพวกเราไปยังไงล่ะ



ขอบคุณข้อมูลจาก : sbs.com, news.com.au, backlinko.com, glamourmagazine และ nytimes.com