หน้าแรก Sritown.com

ผู้เขียน หัวข้อ: เปลี่ยนชื่อรับทรัพย์ เฮง เฮง เฮง! ต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม  (อ่าน 1465 ครั้ง)

promotion

  • โจรสลัดจอมลุย / โคโนฮะกลุ่ม 7
  • *
  • กระทู้: 2499



เปลี่ยนชื่อเพื่อความสิริมงคลในชีวิต
ต้องมีเอกสารไรบ้าง การตั้งชื่อแบบไหนถึงดี
ขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ ตามมาดูกัน~



เปลี่ยนชื่อ อาจจะเป็นเรื่องที่ธรรมดามาก ๆ สำหรับชาวไทยที่มีความเชื่อเรื่องดวงชะตา แต่มันก็น่าคิดจริง ๆ นะ เพราะขนาดวันที่เราเกิดขึ้นมา พ่อแม่ยังต้องมาดูวันเดือนปีที่เราเกิด มาตั้งเป็นชื่อจริง แถมยังต้องมาบวกกับนามสกุลอีกว่ารวม ๆ แล้วมีความสิริมงคล หรือเวลาอ่านออกเสียงชื่อเพราะหรือเปล่า บอกเลยว่าวุ่นวายมาก แต่! มันยังไม่จบหากมีคนทกว่าชื่อไม่ดี มีอาเพศ นั่นแหละเราก็ต้องมาทำเรื่องใหม่อีก ความเชื่อเป็นรื่องส่วนบุคคล แต่ถ้ามันทำให้เราไม่จน จะเสียหายอะไรเล่า อ่ะเข้าเรื่องเลย พี่ โปร จะพาเพื่อน ๆ ไปดูว่าวิธีการเปลี่ยนชื่อเนี่ย จะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างค่ะ







เหตุผลหรือความเชื่อในการเปลี่ยนชื่อ


แน่นอนว่าเหตุผลในการเปลี่ยนชื่อมงคลมีหลายอย่างมากก เปลี่ยนชื่อรับทรัพย์ก็มี อยากเปลี่ยนตามดาราที่ชอบก็มี แต่หลัก ๆ คือ...

- สภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นค่อนข้างแย่
- มีอาการเจ็บป่วย
- ชื่อเดิมเป็นกาลกิณี ไม่เหมาะสมกับเจ้าของชื่อ
- ไม่ชอบชื่อเดิมของตัวเอง ไม่ถูกชะตา ก็เหมือนกับเวลาที่เราใส่เสื้อไม่ถูกใจ








ขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อใช้เอกสารอะไรบ้าง


ขั้นตอนการเปลี่ยนชื่อบุคคล ทำอย่างไร และใช้เอกสารอะไรบ้าง ตามพี่ โปรโมชั่น มาดูกันเล้ยยย พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 กำหนดไว้ว่า บุคคลสัญชาติไทยจะต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุล หรืออาจจะมีชื่อรองด้วยก็ได้ โดยมีหลักเกณฑ์การตั้งชื่อ คือต้องไม่พ้อง หรือมีความมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไทย หรือพระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม อีกทั้งต้องไม่เป็นคำหยาบ หรือมีความหมายหยาบคาย ต้องไม่มีเจตนาในทางทุจริต เป็นผู้ได้รับ หรือเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ที่มิได้ถูกถอดออก จะใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์เป็นชื่อตัวจริง หรือชื่อรองก็ได้

ชื่อตัว คือ ชื่อประจำตัวบุคคล
ชื่อรอง คือ ชื่อซึ่งประกอบถัดจากชื่อตัว
ชื่อสกุล คือ ชื่อประจำวงศ์สกุล








- เอกสารที่ใช้ในการเปลี่ยนชื่อ
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน : ใบปัจจุบันที่ยังไม่หมดอายุ หากบัตรประจำตัวประชาชนของใครหมดอายุก็ต้องแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่ทราบก่อน
- ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด่าว (กรณีบุคคลต่างด้าว)








ขั้นตอนการดำเนินการในการเปลี่ยนชื่อ


ให้อธิบายแบบง่าย ๆ คือ เมื่อเพื่อน ๆ ไปถึงที่เขตหรือที่ว่าการอำเภอก็ไปเอาบัตรคิวและรอเรียก ระหว่างนั้นก็นั่งกรอกเอกสารที่ไปติดต่อขอรับมาก่อน คือ แบบ ช. 1 และยื่นให้กับทางนายทะเบียนของอำเภอหรือเขตนั้น นายทะเบียนก็จะทำหน้าที่รับคำร้องตามเอกสารที่เรายื่นไป แล้วก็ตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ พ.ร.บ. (ว่าชื่อเราหยาบหรือมีเจตนาในทางทุจริตหรือเปล่า) ถ้าทุกอย่างผ่านไม่มีปัญหาอะไร นายทะเบียนก็จะออกหนังสือสำคัญให้ หากเรามีสัญชาติไทยเป็นหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อรองของเรา อันนี้จะเรียกว่า แบบ ช.3







ซึ่งถ้าใครที่เป็นคนต่างด้าว นายทะเบียนก็จะออกใบรับรองการเปลี่ยนชื่อของคนต่างด้าวให้ และใบนี้ยังสามารถใช้เป็นการแสดงประกอบหลักฐานเพื่อแปลงชาติหรือเมื่อได้สัญชาติไทย นายทะเบียนก็จะออกใบรับรองการเปลี่ยนชื่อไทยใบใหม่ให้ด้วย ตรงนี้ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียม 50 บาท หลังจากที่ได้ใบรับรับรองการเปลี่ยนชื่อแล้วก็ยังไม่เสร็จนะ เพราะเราจะต้องนำใบนี้ไปทำการเปลี่ยนชื่อในทะเบียนบ้านกับเจ้าหน้าที่ต่อ และไปทำบัตรประชาชนใบใหม่ด้วยจ้าาา ทั้งหมดนี้คือทำรวดเดียวภายในหนึ่งวันได้!







ถ้าจะเปลี่ยนนามสกุลล่ะ หลักเกณฑ์เดียวกันไหม?


ส่วนการเปลี่ยนนามสกุลนั้นก็มีหลักเกณฑ์ที่คล้าย ๆ กัน คือ ไม่ไปพ้องหรือคล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามพระราชินีและราชทินนามของพระองค์ทั้งสอง และไม่ไปพ้องกับราชทินนาม นอกจากจะเป็นราชทินนามที่ทรงประทานให้ตัวคนยื่นคำร้องขอเปลี่ยนเองหรือของบุพการีหรือของผู้สืบสันดาน ที่สำคัญต้องไม่ซ้ำกับนามสกุลอื่น ๆ ที่มีคนใช้แล้ว ไม่ใช่คำหยาบคายหรือเป็นคำที่มีความหมายไปในทางหยาบคาย







ที่สำคัญต้องมีความยาวไม่เกิน 10 พยางค์ ห้ามใช้คำนำหน้านามสกุลโดยใช้ตัว ณ ถ้าไม่ใช่ได้รับพระราชทานมา ห้ามไม่ให้ใช้ชื่อพระมหานครและพระปรมาภิไธยมาเป็นนามสกุล ส่วนเอกสารที่ใช้หรือขั้นตอนในการยื่นคำร้องขอเปลี่ยนนามสกุล ก็ใช้เหมือนกับการเปลี่ยนชื่อทุกอย่าง และค่าดำเนินการในการเปลี่ยนนามสกุลนั้นอยู่ที่ 100 บาท







เปลี่ยนชื่อแล้ว ต้องเปลี่ยนเอกสารอะไรอีกบ้าง


พอเมื่อเราเปลี่ยนชื่อเสร็จเรียบร้อย แน่นอนว่าธุรกรรมต่าง ๆ ที่เราทำมาตลอดชีวิตก็ต้องเปลี่ยนชื่อตามค่า คำถามที่พี่ promotion ได้ยินบ่อย ๆ ตอนเปลี่ยนชื่อเสร็จ “เปลี่ยนชื่อ ต้องแจ้งธนาคารไหม” เอ้า...ต้องเปลี่ยนสิเพื่อนนน ไม่งั้นสับสนวุ่นวายแน่นอน เวลาไปก็เตรียมเอกสาร สมุดธนาคาร บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และใบเปลี่ยนชื่อ พร้อมสำเนาไปด้วย

- โฉนดที่ดิน
- ใบขับขี่
- บัญชีธนาคาร
- บัตรเครดิต
- กรมธรรม์ประกัน
- ชื่อผู้ประกันตน
- หนังสือเดินทาง
- ชื่อกองทุนหรือบัญชีหุ้น
- บัตรสมาชิก / Application








แล้วพอเราเปลี่ยนเอกสารอะไรเสร็จใช่ว่าจะจบนะคะ เพราะว่าเวลาเราไปธุรกรรมอื่น ๆ หรือเดินทางไปต่างประเทศ อย่าลืมเอาเอกสารการเปลี่ยนชื่อ บัตรประชาชน หนังสือเดินทางฉบับเก่าติดตัวไปด้วยนะคะ อย่างกรณีที่เพื่อนเราคนหนึ่งเดินทางไปเที่ยวเกาหลี แล้วนางเพิ่งเปลี่ยนชื่อมา เขาจะถามเรื่องพาสปอร์ตเก่าทันทีค่ะ เพราะชื่อในระบบมันไม่ตรงกัน แล้วถ้าเราไม่พกตัวเก่าไปน้าา โอโหห งานงอกก ลากยาวกันไม่ต้องไปเที่ยวไหนเลยจ้าา







ปันโปรแชร์ทริค
การตั้งชื่อคนตามเกิดวันต่าง ๆ



เอาล่ะ รู้วิธีการเปลี่ยนชื่อไปแล้ว มาดูกันว่าชื่อเราดีหรือยังน้าาา ถ้าใครอยากเปลี่ยนชื่อลองมาดูว่าคนที่เกิดในแต่ละวัน ควรเปลี่ยนชื่อโดยใช้ตัวอักษรใดเพื่อให้เกิดความมงคล แบ่งออกเป็นเจ็ดวันจะได้ดูง่าย ๆ กันเนอะ



ชื่อของคนเกิดวันอาทิตย์

อักษรที่เป็น “บริวาร” ได้แก่ หมวดสระ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ

อักษรที่เป็น “อายุ” ได้แก่ ก ข ค ฆ ง อักษรที่เป็น “เดช” ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ญ

อักษรที่เป็น “ศรี” ได้แก่ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ

อักษรที่เป็น “มูละ” ได้แก่ ด ต ถ ท ธ น

อักษรที่เป็น “อุตสาหะ” ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม

อักษรที่เป็น “มนตรี” ได้แก่ ย ร ล ว

อักษรที่เป็น “กาลกิณี” ได้แก่ ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ




ชื่อของคนเกิดวันจันทร์

อักษรที่เป็น “บริวาร” ได้แก่ ก ข ค ฆ ง

อักษรที่เป็น “อายุ” ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ญ

อักษรที่เป็น “เดช” ได้แก่ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ

อักษรที่เป็น “ศรี” ได้แก่ ด ต ถ ท ธ น

อักษรที่เป็น “มูละ” ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม

อักษรที่เป็น “อุตสาหะ” ได้แก่ ย ร ล ว

อักษรที่เป็น “มนตรี” ได้แก่ ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ

อักษรที่เป็น “กาลกิณี” ได้แก่ หมวดสระ อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอ โอ




ชื่อของคนเกิดวันอังคาร

อักษรที่เป็น “บริวาร” ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ญ

อักษรที่เป็น “อายุ” ได้แก่ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ

อักษรที่เป็น “เดช” ได้แก่ ด ต ถ ท ธ น

อักษรที่เป็น “ศรี” ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม

อักษรที่เป็น “มูละ” ได้แก่ ย ร ล ว

อักษรที่เป็น “อุตสาหะ” ได้แก่ ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ

อักษรที่เป็น “มนตรี” ได้แก่ หมวดสระ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ

อักษรที่เป็น “กาลกิณี” ได้แก่ ก ข ค ฆ ง




ชื่อของคนเกิดวันพุธ

อักษรที่เป็น “บริวาร” ได้แก่ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ

อักษรที่เป็น “อายุ” ได้แก่ ด ต ถ ท ธ น

อักษรที่เป็น “เดช” ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม

อักษรที่เป็น “ศรี” ได้แก่ ย ร ล ว

อักษรที่เป็น “มูละ” ได้แก่ ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ

อักษรที่เป็น “อุตสาหะ” ได้แก่ หมวดสระ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ

อักษรที่เป็น “มนตรี” ได้แก่ ก ข ค ฆ ง

อักษรที่เป็น “กาลกิณี” ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ญ




ชื่อของคนเกิดวันพฤหัสบดี

อักษรที่เป็น “บริวาร” ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม

อักษรที่เป็น “อายุ” ได้แก่ ย ร ล ว

อักษรที่เป็น “เดช” ได้แก่ ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ

อักษรที่เป็น “ศรี” ได้แก่ หมวดสระ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ

อักษรที่เป็น “มูละ” ได้แก่ ก ข ค ฆ ง

อักษรที่เป็น “อุตสาหะ” ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ญ

อักษรที่เป็น “มนตรี” ได้แก่ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ

อักษรที่เป็น “กาลกิณี” ได้แก่ ด ต ถ ท ธ น




ชื่อของคนเกิดวันศุกร์

อักษรที่เป็น “บริวาร” ได้แก่ ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ

อักษรที่เป็น “อายุ” ได้แก่ หมวดสระ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ

อักษรที่เป็น “เดช” ได้แก่ ก ข ค ฆ ง

อักษรที่เป็น “ศรี” ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ญ

อักษรที่เป็น “มูละ” ได้แก่ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ

อักษรที่เป็น “อุตสาหะ” ได้แก่ ด ต ถ ท ธ น

อักษรที่เป็น “มนตรี” ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม

อักษรที่เป็น “กาลกิณี” ได้แก่ ย ร ล ว



ชื่อของคนเกิดวันเสาร์

อักษรที่เป็น “บริวาร” ได้แก่ ด ต ถ ท ธ น

อักษรที่เป็น “อายุ” ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม

อักษรที่เป็น “เดช” ได้แก่ ย ร ล ว

อักษรที่เป็น “ศรี” ได้แก่ ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ

อักษรที่เป็น “มูละ” ได้แก่ หมวดสระ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ

อักษรที่เป็น “อุตสาหะ” ได้แก่ ก ข ค ฆ ง

อักษรที่เป็น “มนตรี” ได้แก่ จ ฉ ช ซ ฌ ญ

อักษรที่เป็น “กาลกิณี” ได้แก่ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ








คบกันไปทั้งเจ็ดวันแล้ว หากใครยังคิดชื่อไม่ออก ปัจจุบันมีหนังสือตั้งชื่อเป็นตัวช่วยด้วยนะคะ เราอาจจะเริ่มจากการหาชื่อที่ตัวเองชอบ แล้วมารีเช็กอีกทีว่ามีอักษรที่เป็น “กาลกิณี” ด้วยหรือเปล่า แบบนี้อาจจะง่ายขึ้นค่ะ พอได้ชื่อก็ไปเปลี่ยนที่อำเภอหรือเขต แค่นี้ก็สบายใจแล้วค่า ชีวิตหลังจากนี้ก็ขอให้มีแต่สิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิตนะคะ

ขอบคุณข้อมูลและรูปจาก : 1 2 3 4 5






สรุปก่อนเปลี่ยนชื่อ

- ก่อนเปลี่ยนชื่อเช็กให้มั่นใจว่าไม่เป็นกาลกิณี หรือผิดหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อ
- เตรียมเอกสารให้ครบก่อนไปเปลี่ยนชื่อ
- เมื่อเปลี่ยนชื่อเสร็จแล้ว อย่าลืมว่าต้องไปแจ้งเปลี่ยนเอกสารอื่น ๆ อย่างเช่น บัตรเครดิต บัญชีธนาคาร หนังสือเดินทาง เป็นต้น