อืมจาที่อ่าน ของเพื่อนๆมานะคะ ถ้าพูดกันตาหลักของพิสิกส์ กันจริงๆแล้ว
แสงก็มี ข้อจำกัด คือ อัตราเร็วของแสง (speed of light) ในสุญญากาศ มีนิยามว่าเท่ากับ 299,792,458 เมตรต่อวินาที (หรือ 1,079,252,848.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือประมาณ 186,282.397 ไมล์ต่อวินาที หรือ 670,616,629.4 ไมล์ต่อชั่วโมง) ค่านี้เขียนแทนด้วยตัว c ซึ่งมาจากภาษาละตินคำว่า celeritas (แปลว่า อัตราเร็ว) และเรียกว่าเป็นค่าคงที่ของไอน์สไตน์ แสงเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดนั่นคือไม่ว่าผู้สังเกตจะเคลื่อนที่หรือหยุดนิ่ง ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด ด้วยเงื่อนไขใด อัตราเร็วของแสงที่ผู้สังเกตคนนั้นวัดได้ จะเท่าเดิมเสมอ ซึ่งขัดกับความรู้สึกของคนทั่วไป แต่เป็นไปตาม ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
สังเกตว่าอัตราเร็วของแสงในสุญญากาศ เป็น นิยาม ไม่ใช่ การวัด ในหน่วยเอสไอกำหนดให้ เมตร มีนิยามว่าเป็นระยะทางที่แสงเดินทางในสุญญากาศในเวลา 1/299,792,458 วินาที แสงที่เดินทางผ่านตัวกลางโปร่งแสง (คือไม่เป็นสุญญากาศ) จะมีอัตราเร็วต่ำกว่า c อัตราส่วนของ c ต่ออัตราเร็วของแสงที่เดินทางผ่านในตัวกลาง เรียกว่า ดรรชนีหักเหของตัวกลางนั้น (ถึงยังไง ความเร็วของแสงก็ยังมีข้อจำกัด)
สายฟ้า ก็มีขอจำกัด คือสายฟ้าต้องมีองค์ประกอบจึงจาทำให้เกิดได้ สายฟ้า เป็น ไฟฟ้ารูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง โดยก้อนเมฆจะสะสมพลังงานไฟฟ้าเอาไว้จนมากพอที่จะวิ่งไปมาระหว่างกันหรือผ่าลงมาสู่พื้นดินทำให้เกิดเป็นสายฟ้าตามที่เราเห็น (ไฟฟ้ามันแพ้ฉนวน ลูฟี่ไงคะยางเป็นฉนวนไฟฟ้า อีกอย่างสายฟ้ามันหักเหได้ ถ้ามีตัวเหนี่ยวนำ หรือเบี่ยงเบนทิศทางด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งแสงด้วย แต่ถ้าพูดเรื่อง ธาตุ สายฟ้าเป็น ธาตุลม ซึ่งแพ้ ธาตุดิน และธาตุลมเสริมธาตุไฟ)
น้ำหรือน้ำแข็ง ก็มีของจำกัดทางฟิสิกส์ คืนศูนย์สัมบูรณ์ (absolute zero) หมายถึง อุณหภูมิที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นั่นคือ −273.15 องศาเซลเซียส −459.67 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 0 เคลวิน เป็นอุณหภูมิที่โมเลกุลของสสารไม่มีพลังงานจลน์ ในทางปฏิบัติยังไม่สามารถสร้างสภาพศูนย์สัมบูรณ์ขึ้นมาได้จริง ปัจจุบันได้นิยามศูนย์สัมบูรณ์ไว้ว่า เป็นอุณหภูมิที่อนุภาคทุกชนิดหยุดการเคลื่อนไหวอย่างสิ้นเชิงตามหลักกลศาสตร์ควอนตัม ดังนั้นศูนย์สัมบูรณ์จึงน่าจะเป็นอุณหภูมิที่โมเลกุลของสสารสั่นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งอาจไม่ต้องพิจารณาปริมาตรของแก๊ส ณ อุณหภูมินี้ เพราะแก๊สจะกลายเป็นของเหลวไปก่อนที่อุณหภูมิจะลดลงถึงตำแหน่งนี้ (พูดกันง่ายๆกะคือ เย็นกว่านี้ไม่มีอิกแล้วค่ะ แล้วที่สำคัญ ธาตุน้ำแพ้ธาตุ ลมหรือ สายฟ้านะคะ)
ความร้อน ในทางฟิสิกส์ ความร้อนเจ่งสุด เพราะความร้อนไม่มีขีดจำกัด ขนาด ความเย็นยังมีขีดจำกัดเลย แสงต่อให้เร็วยังไงก็มีขีดจำกัด สายฟ้าองค์ประกอบไม่ครบก็ไม่เกิด (แต่ธาตุไฟ ก็ยังแพ้ธาตุน้ำ แต่คนเขียน เค้าอยากให้มันไปอย่างงั้นก็อย่ามาเถียงกันเลยนะเพื่อนๆ เอาเป็นว่าเจ๋ง กันหมด ทุกสายล่ะ)
เอาเรื่องธาตุมาเล่าสู่กันฟังด้วย อิๆ ไฟแพ้น้ำ น้ำแพ้ลม ลมแพ้ดิน ดินแพ้ไฟ (คุณสมบัติเชิงสัญลักษณ์ ไฟคือความร้อน น้ำคือความเย็น ลมคือสายฟ้า ดินคือธรณีและผืนป่า เย็นสยบร้อน สายฟ้าแล่นในน้ำและมิอาจทำอันตรายดิน ส่วนไฟย่อมแผดเผาผืนป่าน้อยใหญ่ให้วอดวายไปได้ )
- น้ำในฐานะของไหล ซึมซาบ ย่อมแพ้ไฟซึ่งมีคุณสมบัติกลืนกิน ทำให้ย่อยทำให้ยับ
- ไฟในฐานะการทำให้ย่อยยับ ย่อมไม่สามารถกลืนกินลมซึ่งอยู่ในลักษณะการพยุง การเคลื่อนไหว (พลังงาน)
- ลมซึ่งเป็นเพียงการพยุง และการเคลื่อนไหว ย่อมไม่สามารถทำอะไรดินซึ่งมีคุณสมบัติกระด้างและกินที่
- ดินซึ่งกระด้างและกินที่ ก็ยังเหลือช่องให้น้ำซึมซาบเอิบอาบและกัดเซาะได้
เอาเป็นว่า ผลปีศาจ อะไรก็เทพทั้งนั้นกะแล้วก็กัน (แต่ชอบสุดในใจ น่าจาเป็นเรื่องเวลา ถ้ามีผลเวลา ควบคุมเวลาได้คงจาเทพมิใช่น้อยนะคะ)