หน้าแรก Sritown.com

ผู้เขียน หัวข้อ: เช็ก! มาตรการป้องกันโควิด-19 ช่วงสงกรานต์ พร้อมวิธีจัดกิจกรรมแบบ New Normal  (อ่าน 1086 ครั้ง)

promotion

  • โจรสลัดจอมลุย / โคโนฮะกลุ่ม 7
  • *
  • กระทู้: 2490




ฟ้าใหม่แล้วละนะน้อง สงกรานต์เราร้อง ทำนองเพลงโทน

โน่นไงจ๊ะ โทนป๊ะโทน โทน ทั้งโยกทั้งโยนเย้ายวนยั่วใจ




นับถอยหลังต้อนรับวันสงกรานต์ อีกเทศกาลแห่งความสุขของไทยที่หลายคนเฝ้ารอ เพราะเป็นอีกช่วงเวลาที่จะได้กลับไปอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัว และไหว้ขอพรญาติผู้ใหญ่เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ไทย แม้ปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 จะยังไม่เบาบางลง และยังระบาดอย่างต่อเนื่องในบางพื้นที่ ทำให้ต้องงดหลายกิจกรรม ทั้งคอนเสิร์ต ปาร์ตี้โฟม หรือถนนเล่นน้ำในหลายพื้นที่ แต่สำหรับสงกรานต์ปีนี้อาจแตกต่างออกไป เพราะสามารถจัดงานสงกรานต์ได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้โปรโมชั่นมาตรการโควิด-19 และกิจกรรมแบบ New Normal










เช็ก! มาตรการป้องกันโควิด -19 ช่วงสงกรานต์จากกรมควบคุมโรค

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาตรการป้องกันโควิด -19 ที่จะช่วยเป็นคู่มือสำหรับประชาชน ในการรับมือไวรัสโคโรนาเทศกาลวันสงกรานต์ เพื่อความปลอดภัยของตนเองและครอบครัว โดยกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะถูกจัดขึ้น ผู้จัดงานจะต้องขออนุญาตก่อนจัดงาน และกำหนดกฎระเบียบภายในงานอย่างเข้มงวด นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามและวิธีดูแลตนเองหลังจากกลับวันสงกรานต์ด้วย แต่ทั้งนี้ทุกคนจะต้อง 'ไม่ประมาท การ์ดอย่าตก' และทำตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด



การเตรียมตัวก่อนร่วมงาน

-กลุ่ม 608 ได้แก่ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัว และสตรีมีครรภ์ ต้อง promotion ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นแล้ว
-เช็กตนเอง หากมีความเสี่ยงให้งดเดินทาง
-ตรวจ ATK ก่อนออกเดินทางภายใน 72 ชม.
-ผู้จัดงานต้องขออนุญาตก่อนจัดงาน และกำหนดให้มีมาตรการควบคุมกำกับอย่างเข้มงวด
-ผู้จัดงานจะต้องลงทะเบียน TSC2+ และ COVID Free Setting







ระหว่างงานสงกรานต์

-จัดกิจกรรมตามประเพณี เช่น รดน้ำดำหัว สรงน้ำพระ การแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ การแสดงดนตรี เป็นต้น
-กำหนดช่องทางเข้า-ออก จุดคัดกรอง
-สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา พกเจลแอลกอฮอล์ และรักษาระยะห่าง
-ห้ามประแป้ง ปาร์ตี้โฟม รวมถึงห้ามจำหน่าย และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่งาน










กิจกรรมในครอบครัว

-เลือกจัดกิจกรรมในที่โล่ง ในบริเวณที่ระบายอากาศได้ดี
-สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
-ผู้สูงอายุคควรได้รับวัคซีนให้ครบ
-งดรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มร่วมกันเป็นเวลานาน






หลังกลับจากงานสงกรานต์

-สังเกตอาการตนเองอย่างน้อย 7 วันหลังจบงาน
-งดพบปะผู้คน
-ตรวจ ATK เมื่อมีอาการน่าสงสัย
-Work From Home ตามความเหมาะสม









สงกรานต์วิถีใหม่ สืบสานวัฒนธรรมไทยในยุค New Normal

นอกจากมาตรการป้องกันโควิด -19 ที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ยังออกมารณรงค์สืบสานคุณค่าและกิจกรรมที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทั้งการทำความสะอาดบ้านเรือ วัด สถานที่สาธารณะ ทำบุญตักบาตร ปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์ สรงน้ำพระพุทธรูป การขอพรผู้สูงอายุ หรือการแต่งกายด้วยผ้าท้องถิ่นในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และยังได้ออกแนวทางและมาตรการรณรงค์ เพื่อสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรม เนื่องในประเพณีสงกรานต์ พ.ศ. 2565 ดังนี้



การร่วมกิจกรรมทางศาสนา

-พระภิกษุสงฆ์ บุคลากรในวัด และประชาชนที่ไปทำบุญ ต้องผ่าน promotions ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์
-ปฏิบัติตาม Covid Free Setting
-เตรียมอุปกรณ์สรงน้ำพระของตนเอง
-เว้นระยะห่าง 1-2 เมตร ตลอดการจัดงาน
-ห้ามนำน้ำที่สรงน้ำพระไปใช้ต่อ






การร่วมกิจกรรมในครอบครัว

-สมาชิกในครอบครัวทุกคน โดยเน้นผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว ต้องผ่านโปรฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์
-ตรวจ ATK ภายใน 24 ชม. ก่อนร่วมกิจกรรม
-จัดกิจกรรมในบริเวณที่ระบายอากาศได้ดี
-งดการสัมผัสใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกัน
-ผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ หลีกเลี่ยงการร่วมกิจกรรม และใกล้ชิดลูกหลาน








การเข้าร่วมหรือจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองเทศกาล

-ก่อนเข้าร่วมงานให้ประเมินตนเอง ด้วยแบบประเมิน TST (Thai Save Thai) ของกรมอนามัย
-ผู้จัดงาน นักแสดง ผู้เข้าร่วมงาน ให้ตรวจ ATK และต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
-สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
-เว้นระยะห่างระหว่างเวทีและผู้ชม อย่างน้อย 2 เมตร
-เว้นระยะห่างของนักดนตรี นักแสดง บนเวที 1 เมตร





หากเพื่อน ๆ มีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 และสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติม ของแนวทางและมาตรการรณรงค์ เพื่อสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรม เนื่องในประเพณีสงกรานต์ พ.ศ. 2565 ได้ที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม สำหรับสงกรานต์ปีนี้ 'เปย์เป้' ขอให้ทุกคนมีความสุข สนุกสนาน และได้ใช้เวลาพักผ่อนกับครอบครัว ชาร์ตพลังและรับพลังบวกให้เต็มปอดก่อนกลับมาทำงานที่เรารักและรอเราอยู่ สวัสดีปีใหม่ไทยนะทุกคน 



ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข