หน้าแรก Sritown.com

ผู้เขียน หัวข้อ: ‘สมรสเท่าเทียม’ การต่อสู้เพื่อความรักที่เท่าเทียม เพราะทุกคนมีสิทธิที่จะรัก  (อ่าน 939 ครั้ง)

promotion

  • โจรสลัดจอมลุย / โคโนฮะกลุ่ม 7
  • *
  • กระทู้: 2499



ถ้าพูดถึงเรื่องการสมรสหรือแต่งงาน ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 ระบุไว้ว่า การสมรสจะทำได้ระหว่างชายและหญิงที่อายุ 17 ปีบริบูรณ์ แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้สมรสก่อนนั้นได้ ขีดเส้นใต้เน้นๆ ตรงคำว่า ทำได้ระหว่างชายและหญิง
พี่ โปร ก็สงสัยนะว่าทำไมการที่คนเราจะแต่งงานกันต้องเป็นเรื่องของเฉพาะชายหญิงเท่านั้น คำถามคือแล้วเพศทางเลือกอื่นๆ ล่ะ ?



ถ้าบอกว่ามนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน มีความเสมอภาคกันตั้งแต่เกิด

แล้วทำไมชาว LGBTQ ถึงไม่สามารถแต่งงานกันได้

ในเมื่อก็เป็นมนุษย์คนนึงเหมือนกัน...




ด้วยตัวกฎหมายที่ใช้มานานหลายยุคหลายสมัย แต่ในปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปมาก
ยิ่งเดี๊ยวนี้พี่ โปรโมชั่น ว่ายิ่งมีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ตัวกฎหมายเดิมก็ไม่ได้ครอบคลุมเหมือนเดิมอีกต่อไป  จึงทำให้เกิดการออกมาเรียกร้องความเสมอภาคในเรื่องของการแต่งงานกันของชาว LGBTQ ในตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา เพื่อผลักดันให้การสมรสเป็นเรื่องที่เท่าเทียมกันของทุกคนทุกเพศอย่างแท้จริง








สมรสเท่าเทียม VS  พ.ร.บ. คู่ชีวิต
เหมือนหรือแตกต่างกันยังไง ?


นอกจากเรื่องของสมรสเท่าเทียมแล้ว ยังมี พ.ร.บ คู่ชีวิตที่เป็นอีกร่างกฎหมายนึงที่ได้ถูกผลักดันไปพร้อมๆ กันด้วย ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้จะเรียกว่าเป็นเรื่องเดียวกันก็ไม่เชิง เพราะต่างก็มีข้อดีข้อเสียและความแตกต่างกันอยู่หลายจุดเลย


สมรสเท่าเทียม

การขอแก้กฎหมายเดิม คือ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 โดยขอแก้จากคำว่า การสมรสกันจะทำได้ระหว่างชายและหญิง เป็น สามารถสมรสกันได้ทุกเพศ  ไม่จำเป็นจะต้องเป็นคู่ชาย-หญิงเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการขอเปลี่ยนคำให้เป็นกลางทางเพศมากขึ้น เช่น สามี-ภรรยา มาเป็น คู่สมรส,  การปรับอายุขั้นต่ำจดทะเบียนสมรสจาก 17 ปี เป็น 18 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาคุ้มครองเด็ก, เรื่องการจัดการสินสมรสร่วมกัน รับมรดกของคู่สมรสอีกฝ่ายได้ เป็นต้น

จุดประสงค์ของการแก้กฎหมายนี้นอกจากเพื่อความเท่าเทียมกันของความรักของทุกเพศแล้ว ชาว LGBTQ  เองก็ยังต้องการเข้าถึงสิทธิทางกฎหมายที่เท่าเทียมกันกับคู่สมรสชายหญิงด้วย


พ.ร.บ. คู่ชีวิต

ร่างกฎหมายใหม่เพื่อใช้สำหรับคู่รัก LGBTQ โดยเฉพาะ ซึ่งพี่ promotion ขอบอกก่อนนะว่าพ.ร.บ. คู่ชีวิตนี้จะไม่ไปยุ่งกับข้อกฎหมายเดิม  ซึ่งพ.ร.บ. คู่ชีวิตนี้ถูกร่างครั้งแรกเมื่อปี 2556 จนถึงตอนนี้ก็ได้มีการแก้ไขร่างมาถึง 6 ฉบับแล้วด้วยกัน จนกระทั่งร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิตฉบับล่าสุดมีสิทธิ์ใกล้เคียงกับ พ.ร.บ. คู่สมรสมากที่สุด เช่น สามารถรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมได้, สามารถกู้ซื้อบ้านร่วมกันได้ หรือรับมรดกแทนได้ในกรณีคู่ชีวิตเสียชีวิต







หลังจากที่มีร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิตออกมา ความคิดเห็นก็แตกออกเป็น 2 เสียงอย่างชัดเจน มีทั้งคนที่เห็นด้วยว่านี่ถือเป็นสัญญาณดีๆ แล้วว่าสังคมเริ่มยอมรับความรักของเพศเดียวกันมากขึ้น แถมยังได้สิทธิ์ตามกฎหมายที่เกือบจะเท่ากันกับ พ.ร.บ. คู่สมรส มากถึง 80-90% เลย สำหรับพี่ promotions ว่าถึงจะสิทธิ์ได้ไม่เท่า แต่ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย

ในขณะเดียวกันคนที่ไม่เห็นด้วยก็บอกว่า พ.ร.บ. คู่ชีวิต ≠ สมรสเท่าเทียม  เพราะยังมีสิทธิทางกฎหมายบางข้อที่ไม่ครอบคลุม เช่น การตัดสินใจแทนในเรื่องการรักษาพยาบาลของอีกฝ่าย ซึ่งคู่สมรสสามารถตัดสินใจแทนกันได้ แต่คู่ชีวิตไม่สามารถทำได้ และยังมองไปถึงเรื่องความเสมอภาคอีกด้วยว่า ในเมื่อเป็นคนเหมือนกันทำไมถึงใช้กฎหมายเดียวกันไม่ได้ การร่างกฎหมายขึ้นมาใหม่ ใช้เฉพาะกลุ่ม ก็เป็นเหมือนเป็นการแบ่งแยกกลุ่ม LGBTQ  ออกจากสังคมแบบกลายๆ นั่นแหละ




เห็นผลภายใน 2 สัปดาห์
ลดผมร่วงได้อย่างชัดเจน

 









ศาลวินิจฉัยแล้ว มาตรา 1448 เรื่องการสมรสเฉพาะชาย-หญิง
ไม่ถือว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน 


ล่าสุดเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 64 ที่ผ่านมา ศาลได้เผยแพร่การอ่านคำวินัจฉัยเรื่องกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 ว่าด้วยเรื่องของการสมรสของชายหญิง ไม่ขัดกับหลักรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เราได้สรุปคำวินิจฉัยเป็นประเด็นได้คร่าวๆ ไว้ประมาณนี้

- การสมรสกันมีจุดมุ่งหมายเพื่อการสืบพันธุ์ สร้างครอบครัว ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้เฉพาะชายหญิง เพศทางเลือกอาจไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ละเอียดลึกซึ้งขนาดนั้นได้
- กลัวว่าคู่รัก LGBTQ จะแอบอ้างจดทะเบียนสมรสเพื่อหวังสิทธิประโยชน์จากสวัสดิการของรัฐ
- การตัดสินใจแทนเรื่องการรักษาพยาบาล เช่น ผ่าตัด สวัสดิการหรือการเรียกร้องค่าเสียหาย สามารถแก้ที่กฎหมายอื่นได้
ต้องกำหนดแยกชาย-หญิงอย่างชัดเจน กฎหมายจึงให้ความเสมอภาคได้

หลายๆ คนรวมถึงเราเอง หลังจากที่ได้อ่านคำวินิจฉัยนี้แล้ว

ก็ได้แต่ถอนหายใจเฮือกใหญ่พร้อมอุทานว่า 'อิหยังวะ'


อ่านคำวินิจฉัยฉบับเต็มได้ที่นี่ : คลิก




อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม คลิ๊กเลย >>> สมรสเท่าเทียม






สำรวจความเห็นของเพื่อนๆ รอบตัว
ทั้งชาย หญิง และ LGBTQ
ที่มีต่อคำวินิจฉัยของศาลเรื่อง 'สมรสเท่าเทียม' 


" คิดว่าเป็นเรื่องที่ควรมีตามหลักสิทธิมนุษยชน มันไม่ใช่แค่เรื่องเกี่ยวกับความรัก แต่มันคือเรื่องกฎหมายของชีวิตคู่ต่อจากนี้ ซึ่งควรจะได้เป็นสิทธิพื้นฐานตั้งแต่เกิดอยู่แล้วด้วยซ้ำ แต่กลับต้องให้ออกมาเรียกร้องเอง แถมโดนศาลเหยียดเอาพฤติกรรมสัตว์มายกเทียบอีก ทั้งๆ ที่ในเมื่อธรรมชาติยังให้สัตว์บางชนิดที่เป็นเพศเดียวกันมีเซ็กส์กันได้ แล้วทำไมถึงไม่มองว่าเรื่องของมนุษย์ตรงนี้เป็นธรรมชาติบ้าง "

" คิดว่าดี เพราะคนเรามีสิทธิ์ที่จะมีอิสระในการเลือกคู่ ไม่ใช่ว่าผู้หญิงจะต้องแต่งงานกับผู้ชายเท่านั้น พอมีกฏหมายจริงๆ จังๆ มันทำให้รู้สึกว่าได้รับการยอมรับจากคนในสังคมมากขึ้น แบบสังคมเปิดกว้างให้คนเหล่านี้มากขึ้น"

" จริงๆ มันก็ทำให้คนทุกเพศมีความเท่าเทียมกันมากขึ้นนะ ไม่ใช่แค่รักกันเป็นแฟนกัน แต่ได้สิทธิทั่วไปเหมือนคู่ชายหญิง มันก็มีประโยชน์ในแง่ที่แบบถ้าเกิดอีกฝ่ายเป็นอะไรไป เอกสารหรือกฎหมายนี้มันก็ช่วยยืนยันได้ว่าเป็นอะไรกัน มีความสัมพันธ์กันในแง่ไหน"






"ตอนนี้หลายประเทศยอมรับเรื่องการสมรสของเพศเดียวกันแล้ว อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถแต่งงานได้ถูกต้องตามกฎหมาย มันไม่ใช่แค่การสมรสนะ แต่มันหมายถึงว่าถ้ามีคนนึงเป็นอะไรขึ้นมา เจ็บป่วยหรือตาย อีกคนก็สามารถตัดสินใจแทนได้เลย ไม่ใช่อยู่กินด้วยกันแต่ไม่มีสิทธิดำเนินเรื่องทางกฎหมาย มันแปลกมากที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่เปิดกว้างและค่อนข้างยอมรับความหลากหลายทางเพศ แต่กลับกันเราไม่ให้โอกาสด้านความเท่าเทียมและสามารถอยู่ด้วยกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายกับพวกเขาได้เลย "

" ส่วนตัวคิดว่าคำตัดสินของศาลค่อนข้างที่จะไม่แฟร์กับกลุ่มคนที่เรียกร้องสิทธินะ คิดว่ามันไม่แปลกเหรอ? กับการที่มีกลุ่ม LGBTQ เรียกร้องให้เกิดการสมรสเท่าเทียม แต่คนตัดสินกลับเป็น Straight หัวโบราณกลุ่มหนึ่ง และในประเทศที่อุตสาหกรรมบันเทิงขายเรื่อง LGBTQ กันอย่างแพร่หลายแถมยังดังไกลถึงต่างประเทศ แต่กลับบอกว่าการรักร่วมเพศเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องทางศีลธรรมดูย้อนแย้งในตัวเองดี "

"คิดว่าเป็นเรื่องสิทธิพื้นฐานทั่วไปที่ควรจะมี แต่การเปลี่ยนแปลงเรื่องที่อ่อนไหวพวกนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ ไม่เพียงแค่เพิ่มเรื่องการสมรสอย่างเดียว แต่พ่วงเรื่องการแก้ไขเรื่องอื่นๆ เข้ามาด้วย แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่เปลี่ยนไม่ได้ ส่วนตัวคิดว่าการเรียกร้องอย่างเดียวจะไม่ทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นในเร็วๆ นี้ ถ้าคนที่มีส่วนร่วมพิจารณาเรื่องนี้ยังรู้สึกว่าไม่ได้อะไรจากมัน แถมอาจเป็นแรงกระตุ้นของหลายๆ ปัญหาที่อาจตามมาจากคนที่ยังไม่เห็นด้วย แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ควรทำแล้วมาแก้ไขกัน เพื่อให้ทุกคนได้รับสิทธิ์แบบที่ควรจะมีก็ตาม"



จากการสอบถามความคิดเห็นส่วนใหญ่ก็มองว่าเห็นด้วยกับการมีสมรสเท่าเทียม เพราะนอกจากคู่รักชายหญิงจะไม่ได้เสียผลประโยชน์อะไร คู่รัก LGBTQ ยังได้ผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกันด้วย และอีกแง่หนึ่งคือการมีสมรสเท่าเทียมเท่ากับว่าสังคมเปิดกว้างและยอมรับเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้นด้วย

แม้ว่าตอนนี้ความหวังของการเกิดสมรสเท่าเทียมในไทยมันช่างริบหรี่ แต่ที่ผ่านๆ มาจากกระแสในโซเชียลถือว่าเป็นแรงกระเพื่อมที่ดี เหมือนเป็นสัญญาณว่าเรื่องการผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียมกำลังกระจายออกสู่สังคมในวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ  และส่วนตัวเราลึกๆ ในใจค่อนข้างเชื่อว่า

ในอนาคต ชัยชนะและสิทธิเสรีภาพที่ควรจะได้ จะต้องเกิดแก่เหล่าคู่รัก LGBTQ  อย่างแน่นอน


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : springnews.co.th, thairath.co.th, workpointtoday.com, constitutionalcourt.or.th