หน้าแรก Sritown.com

ผู้เขียน หัวข้อ: รู้หรือยัง ? ข้าราชการเช็คสิทธิรักษาพยาบาลได้ง่าย ๆ แค่คลิกเดียวที่ E-Filing  (อ่าน 917 ครั้ง)

promotion

  • โจรสลัดจอมลุย / โคโนฮะกลุ่ม 7
  • *
  • กระทู้: 2499



'ข้าราชการ' เป็นอีกหนึ่งอาชีพในฝันของใครหลายคน เพราะมีความมั่นคงสูง ได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ และมีสวัสดิการรองรับมากมาย เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาจที่เป็นหลักประกันของข้าราชการในวัยเกษียณ หรือสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร สวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของทางราชการ รวมถึงโปรโมชั่นสวัสดิการรักษาพยาบาล ทำให้หมดกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายมหาศาลจากการเจ็บป่วยหรือนอนโรงพยาบาลไปได้เลย เพราะสิทธิรักษาพยาบาลครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งตนเอง และคนในครอบครัวด้วย 





เช็ค! สิทธิรักษาพยาบาลที่ข้าราชการต้องรู้

สำหรับสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการนั้น สิทธิจะครอบคลุมตั้งแต่ตนเอง บิดา มารดา คู่สมรส จนไปถึงบุตร ในกรณีบุตรไม่เกิน 3 คน ซึ่งต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย และยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแต่ต้องเป็นผู้ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถที่อยู่ในอุปการะเลี้ยงดูของข้าราชการ โดยโปรสิทธิค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ จะเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้ 









เช็ค! สิทธิรักษาพยาบาลของข้าราชการมีอะไรบ้าง ?

- ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าเลือด และส่วนประกอบของเลือดหรือสารทดแทน ค่าน้ํายาหรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจน และอื่น ๆ ที่ใช้ในการบําบัดรักษาโรค
- ค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบําบัดรักษาโรค รวมถึงค่าซ่อมแซมอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ดังกล่าว
- ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการทางการพยาบาล ค่าตรวจวินิจฉัยโรค ค่าวิเคราะห์โรค แต่ไม่รวมถึงค่าธรรมเนียมแพทย์พิเศษ ค่าจ้างผู้พยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ และค่าบริการอื่น ๆ ที่มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนพิเศษ
- ค่าห้อง และค่าอาหาร ตลอดระยะเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล
- ค่าตรวจครรภ์ ค่าคลอดบุตร และการดูแลหลังคลอดบุตร
- ค่าตรวจสุขภาพประจำปี ค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขภาพ และป้องกันโรค รวมถึงค่าฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และจิตใจ
- ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จําเป็นแก่การรักษาพยาบาลตามที่กระทรวงการคลังกําหนด









อัปเดต! สิทธิรักษาพยาบาลโรค Covid-19 ของข้าราชการ
Promotion ผู้ป่วยนอก

การตรวจยืนยันการติดเชื้อ Covid-19

1. การตรวจยืนยันการติดเชื้อด้วยวิธี Real Time PCR โดยการทำป้ายหลังโพรงจมูกและลำคอ ประเภท 2 ยีน ให้ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 900 บาท จากเดิม 1,300 บาท

2. การตรวจยืนยันการติดเชื้อด้วยวิธี Real Time PCR โดยการทำป้ายหลังโพรงจมูกและลำคอ ประเภท 3 ยีนขึ้นไป ให้ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,100 บาท จากเดิม 1,500 บาท

3. การตรวจการติดเชื้อด้วยวิธี Antigen test ด้วยเทคนิค Chromatography ให้ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 250 บาท จากเดิม 300 บาท

4. การตรวจการติดเชื้อด้วยวิธี Antigen test ด้วยเทคนิค Fluorescent Immuunoassay (FIA) ให้ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 350 บาท จากเดิม 400 บาท

5. การตรวจการติดเชื้อด้วยวิธีอื่น ๆ นอกเหนือจาก ข้อ 3. และ 4. ให้ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 350 บาท จากเดิม 400 บาท



การเบิกค่ารักษาพยาบาล กรณีให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน หรือที่ที่ชุมชนจัดไว้ หรือสถานที่อื่นของสถานพยาบาลของทางราชการ

1. ค่าบริการของสถานพยาบาลและการดูแลผู้ป่วย ให้ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาทต่อวัน ไม่เกิน 10 วัน

2. ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องใช้ในการติดตามอาการผู้ป่วย ค่ายา ค่าเอกซเรย์ ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ และค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ ให้ เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 2,000 บาทต่อราย








Promotions ผู้ป่วยใน

ค่าห้องพักสำหรับควบคุมหรือดูแลรักษาผู้ป่วยใน

1. ผู้ป่วยอาการสีเขียว กรณีไม่ใช้ Oxygen ให้ เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 1,000 บาท จากเดิม 1,500 บาท (กรณีที่ไม่สามารถให้การรักษาพยาบาลที่บ้านหรือสถานที่ที่ชุมชนจัดไว้ได้)

2. ผู้ป่วยอาการสีเหลือง กรณีใช้ Oxygen Canula เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,500 บาทต่อวัน หรือกรณีใช้ Oxygen High Flow เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 3,000 บาทต่อวัน

3. ผู้ป่วยอาการสีแดง กรณีใส่เครื่องช่วยหายใจ ให้ เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 7,500 บาทต่อวัน (อัตราเดิม)




ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

1. ผู้ป่วยอาการสีเขียว ให้ เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาทต่อวัน (อัตราเดิม)

2. ผู้ป่วยอาการสีเหลือง กรณีใช้ Oxygen Canula เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 550 บาทต่อชุด (เดิม 600 บาทต่อชุด) ไม่เกิน 5 ชุดต่อวัน หรือกรณีใช้ Oxygen High Flow เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 550 บาทต่อชุด (เดิม 600 บาทต่อชุด) ไม่เกิน 10 ชุดต่อวัน

3. ผู้ป่วยอาการสีแดง กรณีใส่เครื่องช่วยหายใจ ให้ เบิกได้ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 550 บาทต่อชุด (เดิม 600 บาทต่อชุด) ไม่เกิน 20 ชุดต่อวัน (เดิม 30 ชุดต่อวัน)








รู้จัก E-Filing ระบบตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาลของข้าราชการ

กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง มีบริการ 'E-Filing' หรือ ระบบตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาลของข้าราชการ เพื่อให้สามารถตรวจสอบสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลได้ด้วยตนเอง รวมถึงสามารถตรวจสอบข้อมูลทะเบียนประวัติ ปรับปรุงแก้ไขที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล โดยระบบนี้จะช่วยป้องกันปัญหาไปรักษาแล้วไม่พบข้อมูลในระบบ หรือต้องถูกเรียกเงินคืน 



ขั้นตอนตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาลผ่านระบบ E-Filing


-ช่องทางเข้าสู่ระบบ E-Filing

1. เว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง https://mbdb.cgd.go.th/wel/

2. เว็บไซต์ระบบบำเหน็จบำนาญและสวัสดิการรักษาพยาบาล http://pws.cgd.go.th/EFiling/login.jsf



-เริ่มลงทะเบียนที่ E-Filing

เข้าระบบเพื่อใช้งาน แต่หากยังไม่ได้ลงทะเบียน สามารถลงทะเบียนได้เฉพาะเจ้าของสิทธิเท่านั้น เมื่อล็อกอินเข้าครั้งแรก ระบบจะให้เปลี่ยนรหัสผ่านก่อนเข้าสู่ระบบ



-ตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล

เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว ให้เลือกที่สอบถามข้อมูลทะเบียนประวัติ โดยผู้มีสิทธิสามารถตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล ข้อมูลทะเบียนประวัติ และแก้ไขที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมลได้



-ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง

เมื่อตรวจสอบข้อมูลแล้วถูกต้อง ให้กดถูกต้องเพื่อเป็นการยืนยันข้อมูล




เพียงขั้นตอนง่าย ๆ ก็สามารถตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาลของข้าราชการผ่านระบบ E-Filing ได้ หรือหากใครต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถติดต่อสอบถามได้ที่เพจเฟซบุ๊ก สวัสดิการข้าราชการ โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยตอบคำถามเกี่ยวกับสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ เฉพาะวันเวลาราชการ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น. หรือโทรศัพท์สอบถามได้ที่กองสวัสดิการรักษาพยาบาล กรมบัญชีกลาง เบอร์โทรศัพท์ 0-2127-7000 ต่อ 6225, 4366


ที่มา: กรมบัญชีกลาง , กรุงเทพธุรกิจ