หน้าแรก Sritown.com

ผู้เขียน หัวข้อ: หนึ่งในปัญหาทางจิต กับ การเสพติดการ "เคี้ยวน้ำแข็ง"  (อ่าน 865 ครั้ง)

promotion

  • โจรสลัดจอมลุย / โคโนฮะกลุ่ม 7
  • *
  • กระทู้: 2499




เคยมีใครสังเกตตัวเอง รวมถึงคนใกล้ตัวกันไหมว่ามีใครมีพฤติกรรมการชอบเคี้ยวน้ำแข็งจนติดเป็นนิสัยไปแล้วบ้าง ซึ่งพฤติกรรมที่ว่าไม่ใช่การเคี้ยวน้ำแข็งที่อยู่ในเครื่องดื่มทั่ว ๆ ไปนะ แต่มันเป็นการเคี้ยวน้ำแข็งเปล่า แบบชนิดที่ว่าเครื่องดื่มไม่ต้อง ขอแค่น้ำแข็งเพียว ๆ เท่านั้นก็ฟินแล้ว

สารภาพตามตรงว่าพี่ โปร เองก็ไม่รู้มาก่อนว่ากะอีแค่การเคี้ยวน้ำแข็งเพลิน ๆ มันจะแฝงด้วยอันตรายมากกว่าที่คิด จนได้มาหาข้อมูลเรื่องนี้นี่แหละ ถึงได้รู้เลยว่า การเสพติดการเคี้ยวน้ำแข็งมากเกินไป เป็นหนึ่งในอาการทางจิต ที่ใครเป็นต้องรีบหาทางแก้ด่วน !








กะอีแค่การกินน้ำแข็ง มันเป็นอันตรายขนาดนั้นเชียวหรอ ?

จริง ๆ แล้วการกินน้ำแข็งทั่วไปมันก็เป็นอันตรายได้นะ เพราะด้วยกระบวนการของมัน คือ มันคนละฟีลกับเวลาที่เราเทน้ำใส่ที่ทำน้ำแข็งแล้วนำเข้าตู้เย็นเด้อ แต่มันต้องอาศัยกระบวนการเฉพาะตัว ซึ่งบางทีโรงงานที่ผลิตน้ำแข็งในบ้านเรา อาจจะไม่ได้ผ่านมาตรฐาน หรือเอาง่าย ๆ ก็คือไม่สะอาด ดังนั้นเวลาเลือกซื้อพี่ promotion ก็แนะนำว่าให้ดูจากฉลากที่แปะอยู่บนถุงด้วยว่ามันผ่านการทดสอบมาแล้วว่าสามารถรับประทานได้จริง ๆ



อะ เรื่องของน้ำแข็งปกติจบไป อย่างถัดมา ก็คือ การกินน้ำแข็งมันเป็นอันตรายจริง ๆ หรอ ?



อันนี้เราพุ่งไปที่พฤติกรรมการกินน้ำแข็งนะ เอาง่าย ๆ ลองสำรวจตัวเองกันดู อย่างบางคนถ้าไม่ชอบกินน้ำแข็งอยู่แล้วก็ไม่เป็นไร แต่อย่างคนที่มีการกินน้ำแข็งบ้าง ไปจนถึงชอบกินน้ำแข็งมาก พี่ promotions ก็ขอแนะนำว่าต้องมาสำรวจกันดูก่อนว่าการกินน้ำแข็งของเราเป็นแบบไหน ซึ่งก็มีระหว่าง


ชอบกินน้ำแข็งที่มากับเครื่องดื่มทั่วไป
ชอบกินน้ำแข็งเปล่า ๆ แบบชนิดที่ว่าไม่ต้องมีเครื่องดื่มก็ได้



ถ้าเพื่อน ๆ มีพฤติกรรมแบบแรก คืออาศัยกินเวลาที่ดื่มเครื่องดื่มจนหมดแล้วแต่ยังเหลือน้ำแข็งอยู่ ก็เอามาเคี้ยวหรืออมเล่น อันนี้ถือว่าไม่เป็นอันตราย เพราะถือว่าเป็นพฤติกรรมปกติ แต่ถ้าเพื่อน ๆ ไม่ชอบดื่มเครื่องดื่ม แต่ชอบการเอาน้ำแข็งมาเคี้ยวกรุบ ๆ แบบชนิดที่ว่าถ้าให้เคี้ยวทั้งวันก็สามารถทำได้ไม่ติด แบบนี้พี่ โปรโมชั่น แนะนำให้ว่าพึงระวังไว้ก่อนเลยว่า พฤติกรรมที่เพื่อน ๆ กำลังเป็นอยู่นั้น อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราได้








รู้หรือไม่ " เสพติดการเคี้ยวน้ำแข็ง " เป็นหนึ่งในปัญหาทางจิต !

ใครรู้ตัวว่าเป็นอยู่รีบเบรกตัวเองกันด่วน ๆ  เพราะพฤติกรรมการเคี้ยวน้ำแข็ง มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางสุขภาพจิตอย่างความเครียดอยู่นะ ! คือปกติแล้วในคนที่เครียดมาก ๆ (ลองสังเกตตัวเองเวลาเครียดดูก็ได้) พฤติกรรมส่วนใหญ่ที่แสดงออกก็จะมีตั้งแต่ การนั่งเขย่าขา, เคาะโต๊ะ, กัดฟัน, จับผมหรือดึงผม คือมันให้ความรู้สึกเหมือนกำลังคิดอะไรอยู่ในหัวตลอดเวลา ไม่สามารถคิดแบบเงียบ ๆ ได้ ซึ่งถ้าถามว่ามันเป็นพฤติกรรมที่น่ากลัวมากไหม เอาจริง ๆ เราว่าทุกคนสามารถมีพฤติกรรมที่แสดงออกเวลาเครียด หรือเวลาที่ต้องใช้ความคิดกันได้นะ แต่บางทีมันก็อาจจะรุนแรงจนแม้แต่ตัวของเราเองอาจไม่รู้ตัว

ซึ่งพฤติกรรมการเคี้ยวน้ำแข็งก็เป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่สื่อให้เห็นถึงปัญหาทางสุขภาพจิต ที่แฝงมาด้วยปัญหาอื่น ๆ ตามมา อย่างการย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งถ้าเป็นหนักมาก มันสามารถกลายเป็นโรคได้เลย ก็คือ เคี้ยวมันอยู่นั่น เคี้ยวทั้งวี่ทั้งวัน และยิ่งไปกว่านั้น การเคี้ยวน้ำแข็งนี้เป็นหนึ่งใน โรค Pagophagia หรือโรคทานของแปลก ที่จริง ๆ แล้วมักจะพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ (แต่ไม่ใช่ว่าในผู้ใหญ่จะไม่มีเลยนะ) โดยลักษณะอาการของโรคนี้ ก็คือ ชอบกินอะไรก็ตามที่มันกินไม่ได้ หรือไม่ควรจะกิน นับตั้งแต่ของสกปรก, กระดาษ, ชอล์ก รวมไปถึงน้ำแข็ง ซึ่งบางคนคือไม่ได้แค่กินน้ำแข็งก้อนอย่างเดียว อย่างเศษน้ำแข็ง รวมถึงไอน้ำแข็งที่เกาะอยู่ในช่องแช่แข็งเองก็ชอบ 





เห็นผลภายใน 2 สัปดาห์
ลดผมร่วงได้อย่างชัดเจน

 








ยัง ยังไม่หมดแค่นั้น การเสพติดการเคี้ยวน้ำแข็งนี้อาจแสดงให้เห็นว่าตอนนี้ร่างกายของเรากำลังขาดธาตุเหล็กอยู่ก็ได้ อันนี้มีงานวิจัยออกมาจริง ๆ นะ ว่าในคนที่มีพฤติกรรมเสพติดการเคี้ยวน้ำแข็งนั้น ส่วนใหญ่มักจะขาดธาตุเหล็กในร่างกายอยู่ ซึ่งก็จะมาพร้อมกับอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ อาทิ


เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
ผิวซีด
เจ็บที่หน้าอก
หัวใจเต้นเร็ว
เวียนหัว และหน้ามืดบ่อย ๆ
เบื่ออาหาร



ก็ต้องลองสังเกตตัวเองกันดู (สำหรับใครที่เป็นอยู่) ว่ามีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยหรือเปล่า ถ้าใช่แปลว่าในตอนนี้เราอาจจะขาดธาตุเหล็กอยู่ก็ได้นะ !



จะเห็นได้ว่า พฤติกรรมการเคี้ยวน้ำแข็งนั้น เกี่ยวพันกับหลากหลายโรคมาก

แล้วจะรู้ได้ยังไงว่า สาเหตุของการเคี้ยวน้ำแข็งของเรามาจากไหนกันแน่ ?






อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม คลิ๊กเลย >>> โรคติดน้ำแข็ง







วิธีเช็กตัวเองเบื้องต้น เมื่อรู้ตัวว่ากำลังมีความผิดปกติ !

สำหรับวิธีการแก้ไขเบื้องต้นที่จะแนะนำ ก็คือ พยายามลดการเคี้ยวน้ำแข็งเปล่าลง ถ้างดได้ก็ควรจะงดเลย  ถ้าลดลงแล้วอาการดูเหมือนจะดีขึ้น ไม่มีความอยากเคี้ยวน้ำแข็งอีกแล้ว ก็ถือว่าได้ผล หรือถ้าใครรู้ตัวว่าสาเหตุของการเคี้ยวน้ำแข็งนั้นมาจากความเครียด ก็ให้หาทางผ่อนคลายตัวเองไม่ว่าจะด้วยวิธีไหนก็ตาม แต่ถ้าลดไม่ได้จริง ๆ ก็ให้รีบไปปรึกษาแพทย์ เพราะบางทีสาเหตุของพฤติกรรมนั้นอาจจะมาจากโรคที่ต้องอาศัยกระบวนการรักษา ไม่สามารถรักษาด้วยตัวเองได้

ซึ่งถ้ารู้แล้วว่าสาเหตุมาจากอะไร สมมุติเช่น ขาดธาตุเหล็ก ทางคุณหมอก็จะมีการให้ยา รวมถึงแนะนำอาหารที่ช่วยเสริมธาตุเหล็กในร่างกาย หรือถ้ามีสาเหตุมาจากโรคย้ำคิดย้ำทำ ทางคุณหมอก็จะหาเวย์ในการช่วยรักษาให้เราอีกที แต่ใดใดเราแนะนำว่าไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะนอกจากจะเป็นอันตรายต่อตัวของเราเองแล้ว มันอาจจะกลายเป็นการเสียมารยาทเวลาเข้าสังคมได้นะ


ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : mgronline.com, webmd.com, healthline.com และ pobpad.com