หน้าแรก Sritown.com

ผู้เขียน หัวข้อ: "อาการปวดหลัง" สัญญาณเตือนโรค ที่คุณอาจจะยังไม่รู้ !  (อ่าน 1344 ครั้ง)

promotion

  • โจรสลัดจอมลุย / โคโนฮะกลุ่ม 7
  • *
  • กระทู้: 2499



หลายคนอาจจะคิดว่า อาการปวดหลังมักเกิดขึ้นกับวัยทำงาน ที่ต้องนั่งทำงานที่ออฟฟิศเป็นเวลานานๆ เท่านั้น

แต่ในปัจจุบันเรามักจะเห็นวัยรุ่นหรือวัยเรียนมักจะบ่นว่าปวดหลังกันอยู่เสมอ พี่ promotion เตือนเลยนะว่าบางครั้งอาการปวดหลังอาจจะไม่ได้หมายถึงความร่วงโรยของวัยเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะเป็นสัญญาณเตือนโรคที่คุณไม่อาจนิ่งนอนใจได้ และหากคุณยังคิดไม่ออกว่า อาการปวดหลังบอกโรคอะไรได้บ้าง เรามีคำตอบในบทความนี้แล้ว



 

สาเหตุที่ทำให้ปวดหลัง มีอะไรบ้าง ?
 
รู้หรือไม่ว่าจุดเริ่มต้นของการปวดหลังมักจะเริ่มมาจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ พี่ โปร บอกเลยนะว่าบางอย่างเราๆก็ไม่ได้คาดคิดกับแต่ก็ทำกันเป็นประจำเช่น นั่งผิดท่า, นั่งท่าเดิมเป็นเวลานานเกินไป, ที่นอนแข็ง หรือ นุ่มเกินไป, ยกของหนัก, ออกกำลังกายหนักเกินไป หรือ ออกกำลังกายผิดท่า ซึ่งมักจะมาในลักษณะของการปวดเมื่อย หรือ รู้สึกตึงกล้ามเนื้อเท่านั้น

แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ อาการปวดหลังไม่ได้เป็นแค่ความเมื่อยล้า หรือตึงกล้ามเนื้อ แต่เป็นอาการปวดร้าวและอาการปวดลามไปที่อวัยวะอื่นๆ นั่นอาจจะหมายความว่า คุณกำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และร่างกายกำลังส่งสัญญาณเตือนเกี่ยวกับสุขภาพให้คุณรู้ก็ได้






เช็กลิสต์ อาการปวดหลัง สัญญาณเตือนโรคอะไรบ้าง ?





โรคไต - โรคนิ่ว - โรคกระเพาะ
 
หากคุณมีอาการปวดหลังเหนือบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง ร่วมกับปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะขัด แสบ หรือ มีไข้ ร่วมด้วย อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคไต โรคนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ นอกจากนี้ อาการปวดหลังยังเป็นสัญญาณเตือนของโรคกระเพาะ โรคที่เกี่ยวข้องกับลำไส้ มดลูก ปีกมดลูก รังไข่ ก็มักจะมีอาการปวดหลังเป็นสัญญาณเตือนเช่นกัน โดยผู้ป่วยมักจะปวดหลังในบริเวณที่เหนือบั้นเอว 2 ข้าง และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย

 

โรคกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน 
 
หากเพื่อนๆมีอาการปวดตึง หรือปวดเกร็งหลังเป็นบริเวณกว้าง แบบที่ไม่สามารถระบุบริเวณที่รู้สึกปวด และไม่สามารถก้มหรือแอ่นหลังได้, รู้สึกตึงหลังจนต้องอยากแอ่นหลังอยู่ตลอดเวลา หรือมีอาการปวดคล้ายกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (แต่ไม่ปวดร้าวลงขา) พี่ promotions อยากให้ตั้งเป็นข้อสันนิฐานเบื้องต้นว่าอาจจะเป็น สัญญาณเตือนโรคกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน

ซึ่งอาการปวดดังกล่าวมักจะเกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อหลังถูกใช้งานมากเกินไป, การเล่นกีฬาหักโหม, เกิดอุบัติเหตุ หรือ เหตุการณ์ที่หลังถูกกระแทกอย่างแรง จนทำให้กล้ามเนื้อหลังเกิดการอักเสบนั่นเอง



โรคกระดูกสันหลังเสื่อม

โรคกระดูกสันหลังเสื่อมมักจะเกิดในผู้สูงอายุ หรือผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มักจะมีอาการปวดที่สามารถระบุตำแหน่งที่ปวดได้ หรือรู้สึกปวดหลังแบบขัดๆ พี่ โปรโมชั่น แนะนำเช็คเบื้องต้นโดยให้ลองใช้มือกดไปที่กระดูกสันหลังตรงๆ จะรู้สึกปวดลึก ปวดเสียว หรือมีความรู้สึกขัดๆ ในข้อ หรือในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการปวดหลังลักษณะเดียวกันกับอาการปวดโรคกล้ามเนื้อหลังอักเสบ คือ รู้สึกว่าหลังแข็งไม่สามารถก้มหลังได้เยอะแบบแต่ก่อน หรือมีอาการกล้ามเนื้อหลังเกร็งค้างร่วมด้วย

อย่างที่บอกไปข้างต้นว่า โรคกระดูกสันหลังเสื่อมมักจะพบในผู้สูงอายุมากกว่าวัยรุ่น หรือวัยหนุ่มสาว เพราะโรคกระดูกสันหลังเสื่อมมักจะไม่มีสัญญาณเตือน หรืออาการเจ็บในระยะแรก แต่มักจะแสดงอาการเมื่อข้อต่อเสื่อมสภาพ หรือเมื่อกระดูกสันหลังทรุดตัวลงมาก ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยมักจะอยู่ในวัยสูงอายุเป็นส่วนใหญ่นั่นเอง




เห็นผลภายใน 2 สัปดาห์
ลดผมร่วงได้อย่างชัดเจน

 




อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม  คลิ๊กเลย https://www.punpro.com/p/back-pain-warning-signs








โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
 
อาการปวดหลังที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ที่มักพบบ่อย คือ อาการปวดหลังร้าวลงขา และปวดมากขึ้นเมื่อไอ - จาม หรือ เบ่งเมื่อต้องเข้าห้องน้ำ

โดยแพทย์กล่าวว่า ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดหลังรุนแรง บางคนอาจจะปวดหลังจนไม่สามารถขยับตัวได้ ในขณะที่บางคนอาจจะมีอาการปวดร้าวลงขา หรือปวดขณะที่ไอ จาม รวมถึงมีอาการชา แขนขาอ่อนแรง และมีความผิดปกติในการควบคุมปัสสาวะ อุจจาระ รวมถึงมีปัญหาเรื่องการเดิน หรือการทรงตัวร่วมด้วย

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มักจะมีสาเหตุมาจากการยกของหนัก, นั่งท่าเดิมเป็นเวลานานๆ รวมถึงเกิดจากความเสื่อมของร่างกายตามธรรมชาติ ซึ่งแพทย์บอกว่า อาการปวดดังกล่าวถือเป็นอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมที่หลายๆ คนได้ยินชื่อกันอย่างคุ้นหูนั่นเอง



โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน
 
โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป โดยมักจะปวดหลังช่วงล่าง หรือรู้สึกปวดหลังมากตอนที่ยืนหรือเดิน ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการปวดร้าวลงที่ต้นขา สะโพก ก้น  และอาจจะมีอาการขาชา หรือขาอ่อนแรงจากการที่กระดูกเคลื่อนไปโดนเส้นประสาทร่วมด้วย

แม้ว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี จะมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนมากกว่าวัยอื่นๆ แต่ข้อมูลทางการแพทย์ระบุไว้ว่า โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน ยังสามารถพบได้ในผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่อ้วนลงพุง ผู้ที่ต้องทำงานในลักษณะที่ต้องก้มๆ เงยๆ เป็นประจำ รวมถึงผู้ป่วยเป็นวัณโรคกระดูกสันหลัง หรือติดเชื้อที่กระดูกสันหลังอีกด้วย




จะเห็นได้ว่า อาการปวดหลังธรรมดาที่เราบ่นกัน อาจจะกลายเป็นปัญหาสุขภาพระยะยาวที่เราอาจจะคาดไม่ถึงได้ ดังนั้น หากคุณไม่อยากเข้าสู่วงการปวดหลัง ควรหลีกเลี่ยงการนั่งทำงาน หรือนั่งท่าเดิมเป็นเวลานานๆ แม้ว่างานในแต่ละวันจะยุ่งมากแค่ไหน ก็ควรหาเวลาเปลี่ยนท่านั่ง หรือขยับร่างกายบ่อยๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้คุณปวดหลังได้

แต่หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ก้าวเข้าสู่วงการปวดหลังไปแล้ว แต่อยากจะออกจากวงการนี้ และกำลังมองหาอุปกรณ์ที่จะช่วยคลายความปวดเมื่อยหลังลงได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องนวดไฟฟ้า เก้าอี้เกมมิ่ง เบาะรองนั่งเพื่อสุขภาพ ท็อปเปอร์รองที่นอนแก้ปวดหลัง ฯลฯ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.nakornthon.com , www.thairath.co.th